Wednesday, March 31, 2010

หน่วยงานพัฒนาและบริการสังคม

เกี่่ยวกับเรา

เราเป็นหน่วยงานพัฒนาสังคมและหน่วยสนับสนุนงานด้านมนุษยชนในสังกัดสภาคริสตจักรในประเทศไทย ซึ่งดำเนินการขับเคลื่อนและหนุนเสริม ผู้นำคริสตจักรและชุมชน ทั่วประเทศ ให้รับมือกับปัญหาสังคมรูปแบบต่างๆในชุมชนของเขาเอง โดยการจัดอบรม วางแผน และ ประสานความร่วมมือต่่างๆให้กับคริสตจักรทั้ง 19 ภาคทั่วประเทศไทย

หน่วยงานพัฒนาและบริการสังคม (SDSU) ทำงานร่วมกับผู้นำท้องถิ่น เพื่อบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เราและองค์กรคู่มิตรได้ร่วมกันช่วยเหลือแรงงานอพยพจากชนบทและจากประเทศเพื่อนบ้านให้ได้รับความปลอดภัยและได้รับสิทธิ์ตามกฎหมายที่ควรจะได้รับ เราได้ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศซึ่งถือเป็นเรื่องท้าทายอันเร่งด่วน เราช่วยประชาชนในชุมชนยากจนจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์อันจะทำให้พวกเขาสามารถร่วมมือกันพัฒนาสภาวะทางเศรษฐกิจของพวกเขาให้ดีขึ้นได้ และเรายังได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์การศึกษาและบริการขึ้นในชุมชนแออัดสลัมคลองเตยในกรุงเทพฯอีกด้วย


About Us

We are the social development and human rights advocacy arm of the Church of Christ in Thailand (CCT). We work to mobilize and empower church and other local leaders across the country to address social problems in their own communities. We accomplish this primarily by providing training, planning and project coordination services to the CCT’s nineteen district churches throughout Thailand.

The SDSU works with local leaders every day to alleviate the problems that affect our country. We and our partners help migrant workers from rural areas and neighboring countries to secure and utilize their legal rights. We work to educate people on the urgent challenge of climate change. We help people in poor communities set up group savings programs, enabling them to come together to improve their own economic circumstances. And we manage an education and service center in the impoverished Klong Toey slum in Bangkok.


ภาระกิจของเรา

ภาระกิจของเรามีดังนี้

จัดอบรมผู้นำคริสตจักรภาคและผู้นำชุมชน เพื่อให้พวกเขาสามารถวางแผนและดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอันเร่งด่วนในชุมชนของพวกเขาได้
ให้การสนับสนุน คำปรึกษา และข้อมูลการปฏิบัติที่ดีแก่ผู้นำท้องถิ่นเพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถพัฒนาโครงการต่างๆให้เป็นไปอย่างยั่งยืน
ให้การศึกษาและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชนคลองเตยกรุงเทพฯผ่านศูนย์พัฒนาคลองเตยของ SDSU และประสานความช่วยเหลือฉุกเฉินให้แก่ชุมชนที่ประสบภัยพิบัติทั่วประเทศ
เสริมสร้างความสามารถภายในหน่วยงานฯ รวมทั้งวิธีการฝึกอบรมและการประยุกต์ใช้ เพื่อให้หน่วยงานฯสามารถให้บริการได้ในฐานะแหล่งทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ


เรามุ่งมั่นที่จะแสดงความรักของพระเยซูคริสต์ที่มีต่อผู้ที่กำลังลำบากผ่านความพยายามของพวกเราในการบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนต่าง ๆ ตามคำสอนของพระเยซูคริสต์ที่ว่า "เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ซึ่งท่านได้กระทำแก่คนใดคนหนึ่งในพวกพี่น้องของเรานี้ ถึงแม้จะต่ำต้อยเพียงไร ก็เหมือนได้กระทำแก่เราด้วย" (มัทธิว 25:40)


Our Mission

Our mission includes:

Providing training for leaders of CCT district churches and other community leaders to help them design, implement and operate programs to address urgent social and economic problems in their own communities.
Providing local leaders with ongoing support, counseling and “best practices” information to help them develop and sustain these programs.
Work to educate and assist disadvantaged people in the impoverished Klong Toey area of Bangkok through the SDSU’s Klong Toey Development Center. The SDSU also coordinates emergency assistance to communities throughout Thailand in disaster situations.
Building up our own internal capabilities and training / implementation methodology so that we can serve as a more effective resource for our local partners.

Through our efforts to alleviate social and economic problems in communities across Thailand, we strive to show Christ’s love toward those who are suffering. Our guiding principle is Christ’s teaching, “I tell you the truth, that whatever you did for one of the least of these brothers of mine, you did it for me.” (Matthew 25:40.)



ประวัติและโครงสร้างองค์กร

หน่วยงานพัฒนาและบริการสังคม (SDSU) สภาคริสตจักรในประเทศไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1977 เพื่อรวมเอางานด้านการพัฒนาคริสตจักรชุมชนและกิจกรรมด้านมนุษยชนทั้งหมด ให้อยู่ในองค์กรเดียว หน่วยงานนี้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายพัฒนาคริสตจักรและชุมชุน และฝ่ายศูนย์พัฒนาและบริการ

ฝ่ายพัฒนาคริสตจักรและชุมชุนทำงานร่วมกับผู้นำท้องถิ่นทั่วประเทศในการดำเนินโครงการพัฒนาสังคม ซึ่งประกอบไปด้วยงานด้านสิทธิมนุษยชน งานต่อต้านยาเสพติด งานด้านสิ่งแวดล้อม และกลุ่มออมทรัพย์ แผนกนี้ทำงานร่วมกับคริสตจักรภาคต่าง ๆ ของสภาคริสตจักรโดยตรง ในการฝึกอบรมและหนุนเสริมผู้นำคริสตจักรท้องถิ่น

ฝ่ายศูนย์พัฒนาและบริการเป็นผู้ดำเนินงานของศูนย์ศึกษาและบริการในชุมชนคลองเตยกรุงเทพฯ ซึ่งศูนย์บริการนี้จะให้บริการการศึกษาที่สำคัญต่อเด็กอนุบาล จัดกิจกรรมกีฬาสำหรับเด็กและเยาวชน เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการยังให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อยู่อาศัยสูงอายุและผู้พิการในชุมชนคลองเตยให้ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลและบริการทางการแพทย์ที่จำเป็นด้วย

History and Structure

The Social Development and Service Unit (SDSU) of the Church of Christ in Thailand was formed in 1977 to bring all of the Church’s community development and human rights activities together in a single organization. The group operates through two divisions: the Division of Church and Community Development and the Development and Service Center Division.

The Division of Church and Community Development works with local leaders across the country to implement social development programs, including human rights, anti-drug and environmental programs and savings groups. This division works directly with the CCT’s district churches, which in turn train and supervise leaders at local churches.

The Development and Service Center Division operates our education and service center in the impoverished Klong Toey community in Bangkok. The Service Center provides crucial educational services for kindergarten-age children, runs sports programs for children and young adults. Service Center staff also help elderly and physically handicapped residents in Klong Toey to visit hospitals and receive medical care as needed.



ประเด็นที่มุ่งเน้น

ด้านสิทธิมนุษยชน
เกือบ 50% ของสมาชิกสภาคริสตจักรฯ เป็นชาวชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆอันประกอบไปด้วย กะเหรี่ยง ม้ง และลาหู่ มีสมาชิกจำนวนมากที่ยังต้องเรียกร้องให้ได้มาซึ่งสิทธิอันเท่าเทียมตามกฏหมายไทย รวมถึงโอกาสอันเท่าเทียมกันในสังคมไทยด้วย

การลงทะเบียนสถานะบุคคล
ประเทศไทยกำหนดให้มีการลงทะเบียนสัญชาติไทย เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ในฐานะพลเมืองไทยอย่างเต็มที่ ผู้ที่ลงทะเบียนแล้วสามารถทำงานได้ สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่จัดสรรโดยรัฐบาลได้อย่างเต็มที่ และสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ (สิทธิอื่นๆที่จะได้จากการลงทะเบียนหมายรวมไปถึงสิทธิในการเดินทางระหว่างจังหวัดต่างๆของไทยและสิทธิในการครอบครองรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์)

อย่างไรก็ตามสำหรับสมาชิกที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยแล้ว การลงทะเบียนสถานะบุคคลถือเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง กลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมากอาศัยอยู่ในชนบทที่ห่างไกล การเข้าถึงหน่วยงานราชการต่างๆจึงทำได้อย่างจำกัด มีหลายคนที่ยังขาดเอกสารที่จำเป็นสำหรับการลงทะเบียน อุปสรรคในเรื่องภาษาก็ถือเป็นปัญหาอีกหนึ่งทั้งนี้เนื่องจากสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์หลายคนพูดได้แต่ภาษาของตน ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ดังนั้นด้วยการที่ไม่สามารถแสดงสิทธิด้านแรงงาน สิทธิในการถือครองที่ดินหรือสิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพและบริการการศึกษาได้ สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ได้ลงทะเบียนจึงมักรู้สึกว่าเขาถูกทอดทิ้งและไร้เสถียรภาพในสังคมไทย

หน่วยงานพัฒนาและบริการสังคมจะทำงานขับเคลื่อนคริสตจักรและผู้นำชุมชนให้ช่วยเหลือสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ในการขึ้นทะเบียนเป็นพลเมืองไทย โดยเชื่อมโยงการทำงานกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนภาคชนเผ่าของสภาคริสตจักรในประเทศไทย ซึ่งในปี 2008 หน่วยงานฯและคริสตจักรภาคได้ช่วยให้มีการลงทะเบียนสถานะพลเมืองเกิดขึ้นจำนวน 252 ราย

ประเด็นแรงงานอพยพชนเผ่า
ในแต่ละปีจะมีพี่น้องชนเผ่าและสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์จากชนบทที่ยากจนได้ละทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดเพื่อเข้าไปหางานทำในมืองเป็นจำนวนมาก แต่โอกาสสำหรับแรงงานเคลื่อนย้ายเหล่านี้ก็มีอย่างจำกัดมากในเมือง บางคนก็ได้ทำงานในสถานีบริการน้ำมัน บางคนก็ทำงานก่อสร้าง บางคนก็หาทางออกด้วยการขายสินค้า พวงมาลัย ตามข้างถนนและสี่แยก บางคนก็ถูกดึงเข้าร่วมขบวนการค้ายาเสพติด

กลุ่มที่สามารถหางานทำได้ก็ต้องเผชิญกับปัญหาคุกคามอื่นๆ นายจ้างหลายรายปฏิเสธที่จะจ่ายค่าจ้างอย่างเท่าเทียมให้กับแรงงานอพยพ และหลายรายก็ปฏิเสธการจ่ายค่าจ้างอีกด้วย และการไม่มีเงินจ้างทนายและไม่มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกฏหมายแรงงานของไทย แรงงานเคลื่อนย้ายเหล่านี้จึงต้องเผชิญกับปัญหาการกดขี่แรงงานที่ไม่สามารถหันหน้าไปพึ่งใครได้ ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อชาวเขาและกลุ่มชาติพันธุ์ยังคงมีอยู่ทั่วไปและส่งผลให้มีการกดขี่ข่มเหงในรูปแบบอื่นๆด้วย

หน่วยงานพัฒนาและบริการสังคมทำงานร่วมกับคริสตจักรในท้องถิ่นเพื่อบรรเทาปัญหาที่บรรดาแรงงานเคลื่อนย้ายต้องเผชิญ โดยการจัดสัมมนาเรื่องกฏหมายแรงงานให้แก่กลุ่มแรงงานอพยพ และช่วยเหลือพวกเขาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการติดต่อหน่วยงานต่างๆเมื่อถูกกดขี่แรงงาน เราฝึกอบรมผู้นำในชุมชนแรงงานอพยพให้มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และเราให้คำปรึกษาที่จำเป็นแก่ผู้นำเหล่านี้ในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่างที่พบในแต่ละชุมชนซึ่งประกอบไปด้วย ปัญหากดขี่แรงงาน ปัญหาความขัดแย้งกับชุมชนรอบข้าง เราหวังว่าความพยายามของเราจะสามารถทำให้แรงงานอพยพเหล่านี้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมไทยได้ดีขึ้นและได้รับการคุ้มครองสิทธิภายใต้กฏหมายไทยอย่างเต็มที่

นอกจากนี้ หน่วยงานพัฒนาและบริการสังคมยังได้เข้าร่วมงานวันชนเผ่าพื้นเมืองนานาชาติ ซึ่งสนับสนุนโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนเป็นประจำทุกปี โดยเป้าหมายของการจัดกิจกรรมนี้คือการให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้คนในประเทศไทยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นระหว่างชุมชนชนเผ่าด้วยกันเองและระหว่างประชาชนคนไทยกลุ่มอื่น ๆ ทั่วประเทศ กิจกรรมนี้จะประกอบไปด้วยการสัมมนาเรื่องความท้าทายของสมาชิกชนเผ่า การแสดง การฟ้อนรำและงานนิทรรศการเกี่ยวกับวัฒนธรรมชาวเขาซึ่งจัดแสดงโดยชนเผ่ากลุ่มต่าง ๆ

ประเด็นแรงงานข้ามชาติ
นอกเหนือจากงานของเราที่ทำกับชุมชนแรงงานอพยพชาวชนเผ่าแล้ว หน่วยงานพัฒนาและบริการสังคมยังทำงานร่วมกับผู้นำชุมชนตามแนวชายแดน เช่น แม่สายและแม่สอดอย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชากรแรงงานข้ามชาติที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย เราทำงานให้ความรู้กับผู้นำท้องถิ่นเกี่ยวกับกฏหมายสิทธิมนุษยชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแรงงานอพยพข้ามชายแดน รวมถึงกฏหมายแรงงาน กฏหมายตรวจคนเข้าเมือง และประเด็นทางการเมืองต่างๆ เราได้จัดหาเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องให้กับบรรดาแรงงานทั้งหลาย และร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนอื่น ๆจัดงานและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น วันแรงงานสากล เป็นต้น เพื่อช่วยแรงงานข้ามชาติให้ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมในประเทศไทย นอกจากนี้เรายังช่วยคริสตจักรท้องถิ่นตามแนวชายแดนในการวางแผนและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือแรงงานอพยพที่มาจากประเทศอื่น


Focus Areas

Human Rights

Nearly 50% of the CCT’s members are tribal people and ethnic minorities, including Karen, Hmong and Lahu. Many of these members face a constant struggle to achieve equal rights under Thai law and equal opportunities within Thai society.

Registration for Citizenship: Thai nationals are required to register with the government in order to enjoy the full benefits of citizenship. Registered citizens can obtain jobs, enjoy full access to government-subsidized healthcare and are able to own land. (Other rights conferred by registration include the ability to travel between Thai provinces and the right to own a car or motorbike.)

For many members of Thailand’s ethnic minorities, however, registration for citizenship can prove to be extremely difficult. Many ethnic minorities live in rural areas where access to government agencies is limited. Others lack the proper documentation to fulfill the registration requirements. Language barriers can also present a problem, as many members of ethnic groups speak their own dialects and cannot communicate in Thai. Without labor and land ownership rights or full access to healthcare and education, unregistered members of ethnic groups frequently find themselves left behind or vulnerable in Thai society.

The SDSU is working to mobilize local church and community leaders to help members of ethnic minorities complete their registration as Thai citizens, in conjunction with the CCT Church Committee for Human Rights. In 2008, we and our partners helped 252 people to register.

Hilltribe Migrant Worker Issues: Many hilltribe people and members of ethnic minorities from impoverished rural areas leave home each year in search of work in the cities. The opportunities available to these migrant workers in the cities, however, are severely limited. Some find work in gas stations or on construction sites; others resort to selling homemade items on roadsides or at traffic intersections. Some will find themselves pulled into drug trafficking.

Those that do find jobs face other entrenched problems. Many employers refuse to pay equal wages to migrant laborers; others may withhold pay altogether. Without the money to pay for a lawyer – or a basic understanding of their rights under Thai labor laws – migrant workers facing labor abuses can find themselves with nowhere to turn. Discrimination against hilltribe people and ethnic minorities is also common, resulting in a range of other abuses. (Some Lahu people, for example, have been denied access to local cemeteries for burial services.)

The SDSU and its local partners are working together to alleviate the problems facing migrant laborers. We conduct seminars on labor laws for migrant workers and help them understand where to go if they find themselves in an abusive employment situation. We train leaders in local migrant communities on conflict resolution techniques. And we consult with these leaders to resolve specific problems in each migrant neighborhood, including labor abuses and conflict resolution with other neighboring communities as needed. Through our efforts, we hope to enable migrant workers to become better integrated with Thai society and to enjoy full protection under Thai law.

In addition, the SDSU participates each year in International Indigenous People’s Day, sponsored by the Community Organizations Development Institute. The goal of this event is to educate people in Thailand about the history and culture of the hilltribes in hopes of improving relations between hilltribe communities and other Thai citizens across the country. The event includes seminars on the challenges hilltribe members confront as migrant workers, as well as shows, dances and exhibits about hilltribe culture organized and performed by each ethnic group.

Cross-Border Migrant Worker Issues: In addition to our work with indigenous migrant worker communities, the SDSU works closely with local leaders in border areas such as Mae Sai and Mae Sot to address issues affecting Thailand’s large population of migrant workers from other countries. We work to educate local leaders on human rights laws pertaining to cross-border migrant workers, as well as labor and immigration law and current political events. We also provide documents on these issues to the workers themselves. In addition, we work with other NGOs to sponsor events and activities like International Labor Day, which aids cross-border migrant workers in their efforts to obtain fair and humane treatment in Thailand. And we assist local churches in the border areas in planning and executing their own activities to support migrants from other countries.


การพัฒนาเศรษฐกิจ

ประมาณ 70% ของประชากรไทยอาศัยอยู่ในชนบทและหาเลี้ยงชีพด้วยการทำการเกษตรและประชากรเหล่านี้ต้องเผชิญกับปัญหาราคาเมล็ดพันธุ์พืช ปุ๋ย และสารกำจัดแมลงที่มีราคาสูงขึ้นทำให้เกษตกรจำนวนมากไม่สามารถทำการผลิตให้ได้ผลที่คุ้มกับค่าใช้จ่าย เกษตรกรเหล่านี้จึงจำใจสร้างภาระหนี้สินด้วยการกู้เงินนอกระบบในท้องถิ่น ซึ่งบางทีต้องเสียดอกเบี้ยมาถึงร้อยละ20 ต่อเดือนหรือมากว่านั้น เกษตรกรบางคนต้องขายที่ดินของตนที่มีเพื่อนำไปใช้หนี้เงินกู้ ซึ่งเมื่อไม่มีที่ดินแล้วเกษตรกรเหล่านี้ก็จะเดินทางเข้าไปหางานทำในเมือง

สมาชิกสภาคริสตจักรในประเทศไทยจำนวนมากต่างก็เผชิญกับสถานการณ์อันยากลำบากเหล่านี้เช่นกัน ภาระกิจหลักของหน่วยงานพัฒนาและบริการสังคมอย่างหนึ่งคือการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชนซึ่งถือเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้สมาชิกได้กลับมาใช้วิถีชีวิตที่พอเพียง สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ได้เรียนรู้ที่จะเก็บออมเงินจำนวนหนึ่งจากรายได้ของพวกเขาในแต่ละเดือน และเงินที่เก็บสะสมไว้นั้นก็ได้ถูกนำมาพัฒนาชุมชน ทำเป็นทุนทำการเกษตรและกิจกรรมเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจอื่นๆของชุมชน สมาชิกแต่ละคนได้รับเงินปันผลจากกำไรของกลุ่มออมทรัพย์ ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้นั้นได้ทำให้กลุ่มออมทรัพย์ชุมชนสามารถหยุดวงจรการก่อหนี้ในชนบทได้

ด้วยความช่วยเหลือของหน่วยงานพัฒนาและบริการสังคม ทำให้คริสตจักรชุมชนและผู้นำชุมชนต่างๆได้ก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นมาปีละ 6 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มดำเนินงานโดยคณะกรรมการที่มาจากสมาชิกกลุ่ม หน่วยงานพัฒนาและบริการสังคมได้จัดการฝึกอบรมให้คณะกรรมการเหล่านี้ได้สามารถจัดทำแผนและดำเนินการตามแผนการรวมถึงการให้บริการเงินกู้ภายในชุมชนได้ กลุ่มออมทรัพย์เหล่านี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกของสภาคริสตจักรฯสามารถกู้เงินได้พร้อมทั้งส่งเสริมหลักการให้กู้ยืมเงินตามหลักความรักและความเป็นพี่เป็นน้องกันของคริสเตียน โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ของผู้กู้อีกด้วย


Economic Development

Approximately 70% of Thailand’s population lives in rural areas and supports themselves via agriculture. Unfortunately, faced with the rising cost of seeds, fertilizers and insecticides, many farmers are not able to produce enough to meet their expenses. These farmers are frequently forced to take on crushing debt burdens from local loan sharks, sometimes at interest rates of 20% per month or more. Some farmers sell what property they have to make their loan payments; when the property is gone, they move to the cities in search of work.

Many members of the Church of Christ in Thailand face these difficult circumstances as well. One of the SDSU’s core missions is to organize community savings groups as a means of helping these members regain their self-sufficiency. Participants in the savings plans learn to set aside a small amount of their income each month. The accumulated capital is then redeployed within the community to fund farming projects and other beneficial economic activity. Each participant shares in the interest generated by the savings group. In this way, local savings groups help rural communities break the cycle of debt and dependency.

With the SDSU’s help, local church and community leaders established six new savings groups in 2008. Each group is run by a committee of local participants. The SDSU provides training to these committees on how to set up and run the plan, as well as on making wise loans within the community. Savings groups are open to non-CCT members, and are encouraged to make loans based on Christian principles of love and brotherhood, in addition to the recipients’ ability to repay the loan.

ประเด็นสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานพัฒนาและบริการสังคมเชื่อว่าการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาตินั้นถือเป็นความรับผิดชอบที่พระเจ้าทรงมอบให้เรา เราจึงทำงานร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์อื่นๆในประเทศไทยในการต่อสู้กับการคุกคามของปัญหาโลกร้อน ในปี 2007 หน่วยงานฯได้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายต้านโลกร้อนขึ้นโดยร่วมมือกับคริสตจักรต่างๆ หน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆในภาคเหนือของไทย โดยสมาชิกของกลุ่มประกอบด้วย วายเอ็มซีเอเชียงใหม่และโรงเรียนพระหฤทัยเชียงใหม่ และอื่น ๆ ปัจจุบันเครือข่ายนี้มีองค์กรสมาชิกถึง 56 แห่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีสมาชิกแค่ 24 องค์กรในสองปีก่อน

สมาชิกเครือข่ายต้านโลกร้อนได้ทำงานร่วมกันเพื่อให้ความรู้กับคนในสถาบันนั้น ๆ เกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ที่ประกอบไปด้วยการรีไซเคิลและการลดการใช้พลังงานส่วนบุคคล สมาชิกเครือข่ายยังได้เสริมสร้างความตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่นงานวันสิ่งแวดล้อมโลก ที่มีการจัดนิทรรศการให้ความรู้ การสัมมนา การประกวดดนตรีเยาวชน และคอนเสิร์ต โดยผู้จัดงานวันสิ่งแวดล้อมโลกนั้นประกอบไปด้วย วายเอ็มซีเอเชียงใหม่ โรงเรียนพระหฤทัยเชียงใหม่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมเชียงใหม่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว และยังมีกิจกรรมอื่นๆที่จัดโดยเครือข่ายหยุดโลกร้อน เช่น วันปลอดรถยนต์ และวันสิ่งแวดล้อมไทย

นอกจากนี้เรายังทำงานเพื่อหยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่าในประเทศไทยซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาโลกร้อนอีกด้วย โดยในระหว่างปี 1976 ถึง 1987 นั้น ประเทศไทยต้องสูญเสียป่าไปถึงร้อยละ 28 ของพื้นที่ป่าทั้งหมดซึ่งเท่ากับว่าประเทศต้องสูญเสียพื้นที่ป่าไปถึงร้อยละ 3 ต่อปีเลยทีเดียว แม้ว่าตั้งแต่ปี 1989 เป็นต้นมานั้น รัฐบาลได้ทำการปรับปรุงนโยบายให้การควบคุมการทำป่าไม้ทำได้ดีขึ้นซึ่งก็ช่วยลดสัญญาณอันตรายนั้นได้ระดับหนึ่ง แต่ปัญหาก็ยังคงมีอยู่เรื่อยมา ซึ่งปัญหาการตัดไม้ทำลายป่านั้นก็ได้นำมาซึ่งปัญหาอื่นๆอีกมากมายที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นต้นว่าปัญหานำ้ท่วม มลภาวะทางอากาศ การทำลายสัตว์ป่าพันธุ์พื้นเมืองที่มีเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเป็นตัวเร่งให้เกิดภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศให้เกิดเร็วขึ้นอีกด้วย

หน่วยงานพัฒนาและบริการสังคมทำงานเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าในประเทศไทยร่วมกับคริสตจักรท้องถิ่นและสมาชิกองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆในชุมชน ช่วยสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของงานอนุรักษ์ หน่วยงานฯได้ร่วมทำงานกับผู้นำคริสตจักรชนเผ่าในท้องถิ่นต่างๆเพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีความรับผิดชอบ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานฯยังได้เข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้และช่วยคริสตจักรท้องถิ่นต่างๆจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ของตนตลอดทั้งปีอีกด้วย


Environmental Issues

The SDSU believes that stewardship over our natural resources is a responsibility given to us by God. With that in mind, we are working every day with other concerned groups in Thailand to combat the threat of global warming. In 2007, we established the Stop Global Warming Network in conjunction with other church groups, government organizations and NGOs in northern Thailand. Member groups include the Chiang Mai YMCA and Sacred Heart College of Chiang Mai. Currently, the network includes 56 member organizations, up from 24 just two years ago.

Members of the Stop Global Warming Network work together to educate their own constituents on responsible stewardship of the environment, including recycling and reducing personal energy use. Members also promote awareness of global warming issues through activities like Earth Day, which includes educational exhibits, seminars, a youth-focused music competition and a concert. Earth Day organizers include the Chiang Mai YMCA, Sacred Heart College of Chiang Mai, the Regional Environmental Office of the Royal Thai Government’s Ministry of Natural Resources and Environment (Chiang Mai) and Kad Suan Kaew shopping center. Other events organized by the Stop Global Warming Network include Car-Free Day and Thai Environment Day.

We are also working to stop the ongoing threat of deforestation in Thailand, which contributes to global warming. Between 1976 and 1987, Thailand is estimated to have lost about 28% of its forest cover, equating to losses of about 3% per year. Since 1989, improvements in government policies – including better controls on logging – have reduced this alarming trend, but the problem continues. This widespread loss of trees contributes to a number of problems in Thailand, including increased flooding, air pollution and damage to indigenous wildlife, as well as accelerating the threat of global climate change.

The SDSU is working to alleviate the problem of deforestation in Thailand by working with local churches and other members of the NGO community to raise awareness of the importance of conservation. The SDSU works with local church leaders in hilltribe communities to encourage responsible usage of natural resources. SDSU staff members also participate in tree-planting activities and help local churches organize their own tree-planting campaigns throughout the year.


การให้ความรู้ด้านการต่อต้านยาเสพติด

หลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหายาเสพติดที่เพิ่มขึ้น ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตยากจนบางคนได้หันไปพึ่งพายาเสพติดในการหาทางออกให้กับชีวิต บางคนก็ถูกเพื่อนชักจูงให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด บางคนก็ใช้ยาเพราะความเครียดหรือความเบื่อหน่าย โดยยาเสพติดที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดคือเฮโรอีน และ ยาบ้า สารเสพติดที่มีส่วนผสมของเมตาเฟตามีนและคาเฟอีนที่จะนำไปสู่อาการทางจิตและผลกระทบต่อสุขภาพอันร้ายแรงหลังจากได้ใช้ยาไปเพียงไม่กี่เดือน แม้ว่าจะมีการบังคับใช้กฏหมายยาเสพติดในประเทศไทยแล้ว ปัญหายาเสพติดก็ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันซึ่งได้กลายเป็นปัญหาหลักของประเทศไปแล้ว

ชุมชนสมาชิกสภาคริสตจักรฯก็ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้เช่นกัน คริสตจักรหลายแห่งอยู่ในสภาวะยากจนและมีชีวิตที่ยากลำบากจนทำให้บางแห่งต้องหาทางออกด้วยการหันหน้าเข้าหายาเสพติด บางครั้งเยาวชนก็ถูกชักจูงให้ใช้ยาเสพติดโดยปราศจากความเข้าใจเกี่ยวกับภัยจากการติดยาเสพติด นอกจากนี้ปัญหาการติดสุราก็ยังพบเห็นโดยทั่วไปอีกด้วย

หน่วยงานพัฒนาและบริการสังคมจึงทำงานเพื่อช่วยบรรเทาปัญหายาเสพติดในชุมชนต่างๆ โดยการจัดอบรมและพัฒนาศักยภาพของกรรมการเครือข่ายคริสตจักรเพื่อพันธกิจปัญหายาเสพติดภาคเหนือ สภาคริสตจักรในประเทศไทย (คพส.) ให้สามารถทำงานกับผู้นำคริสตจักรท้องถิ่นในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติด เครือข่าย คพส. จะจัดการฝึกอบรมให้กับผู้นำชุมชนให้สามารถระบุสัญญาณเตือนต่าง ๆ ของปัญหายาเสพติดในชุมชนได้ จัดหากิจกรรมทางเลือกให้กับสมาชิกที่มีความเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติด จัดการรักษาทางเลือกให้ และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้ยาในการขอความช่วยเหลือ หน่วยงานพัฒนาและบริการสังคมยังได้ร่วมงานกับทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนอื่น ๆ ในการหาเงินทุนสนับสนุนโครงการต่อต้านยาเสพติดของคริสตจักรชุมชนอีกด้วย

ด้วยการทำงานผ่านเครือข่าย คพส. หน่วยงานฯได้ช่วยให้เด็กและเยาวชนรอดพ้นจากการติดยาโดยหันหน้าเข้าหากิจกรรมกีฬา ดนตรี และกิจกรรมเพื่อสุขภาพอื่น ๆแทน และหน่วยงานฯยังได้ช่วยให้คนในชุมชนยากจนหาทางออกจากการติดยาเสพติดด้วย

Anti-Drug Education

In the last few decades, Thailand has seen rising levels of drug abuse. Some people in impoverished areas turn to drugs as a form of escape; others are pulled in by peer pressure or boredom. The most widely-abused drugs are heroin and a highly addictive mix of methamphetamine and caffeine called yaba (or “crazy medicine”), which can lead to psychosis and other severe health effects after only a few months of use. Despite tough drug laws in Thailand, drug abuse continues to present a major problem for the country.

CCT church communities are affected by this issue as well. Many members of the church struggle with poverty, and some turn to drugs to escape the difficulties of daily life. Young members are sometimes pulled into drug use without understanding the risk of addiction. Alcohol abuse is also common.

The SDSU is working to alleviate the drug problem in local communities. We provide training and capacity-building support for the CCT’s Church Network for Drug Prevention in Northern Thailand, which in turn works with local church leaders to combat drug abuse. The Church Network for Drug Prevention conducts training for local leaders on identifying potential warning signs of abuse; providing at-risk members with healthy alternatives to drugs; identifying treatment options; and convincing drug users to seek help. The SDSU also works with other NGOs and government agencies to generate financial support for local churches’ anti-drug programs.

Through our work with the Church Network for Drug Prevention in Northern Thailand, we’re getting kids involved in sports, music programs, and other healthy activities, and providing people in impoverished communities with a way out of the nightmare of drug addiction.


การพัฒนาชุมชนแออัด


ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติดและปัญหาอาชญากรรมถือเป็นปัญหาที่รุนแรงในชุมชนคลองเตยซึ่งเป็นชุมชนที่มีคนอยู่อย่างแออัดในกรุงเทพฯ สภาพความเป็นอยู่ในชุมชนมีทั้งอันตรายและความไม่ถูกสุขลักษณะ มีท่อระบายน้ำเสียที่ไม่มีฝาปิดพาดผ่านไปทั่วชุมชนที่อยู่อาศัย มีขยะทิ้งเกลื่อนกลาดตามทางเดินอันคับแคบ ความหิวโหยเข้ามาคุกคามอยู่เป็นระยะ และความหวังก็เลือนลางมาก

ดังนั้นหน่วยงานพัฒนาและบริการสังคมจึงทำงานผ่านศูนย์พัฒนาและบริการจัดการศึกษาโดยใช้หลักสูตรของมอนเตสซอรี่ เราจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาลให้กับเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีปัญหาและเด็กนักเรียนที่ต้องการเรียนซ่อมเสริม วิชาที่สอนได้แก่ คณิตศาสตร์ การอ่าน การเขียน พลศึกษาและสุขศึกษา นอกจากนี้เรายังสอนภาษาอังกฤษและทักษะคอมพิวเตอร์เบื้องต้นอีกด้วย เราได้ให้ความช่วยเหลือด้านการสอนพิเศษและเยี่ยมบ้านเด็กๆที่ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม การให้บริการศึกษาของเรายังหมายรวมถึงการฝึกอบรมด้านศิลปะและวิชาชีพให้กับผู้ใหญ่ที่ไม่มีงานทำและผู้ที่อยากหารายได้เสริมด้วย

นอกจากนี้ ศูนย์บริการคลองเตยยังได้จัดโครงการกีฬาสำหรับเยาวชนอันประกอบไปด้วยฟุตบอลสำหรับเด็กและกิจกรรมว่ายน้ำในวันหยุด ซึ่งกิจกรรมกีฬาเหล่านี้ได้ช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การรู้จักการทำงานเป็นทีมให้กับเยาวชนในชุมชนคลองเตยและยังทำให้เยาวชนมีสุขภาพที่แข็งแรงห่างไกลจากยาเสพติดและอาชญากรรม ศูนย์บริการได้จัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกายต่างๆทั้งสำหรับผู้ใหญ่และสำหรับเยาวชน

เจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการได้ช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชนให้สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้ ผู้สูงอายุและผู้พิการบางคนในชุมชนคลองเตยไม่สามารถไปพบแพทย์ได้เนื่องจากสภาพร่างกายที่ไม่อำนวยประกอบกับการไม่มียานพาหนะ เราได้ลงไปเยี่ยมสมาชิกในชุมชนจำนวน 10 รายในแต่ละเดือนเพื่อช่วยให้พวกเขาได้ไปพบแพทย์ยามจำเป็น

ด้วยการทำงานผ่านศูนย์บริการคลองเตยทำให้หน่วยงานพัฒนาและบริการสังคมสามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ที่กำลังได้รับความเดือดร้อนจากความยากจน ความเจ็บป่วยและอาชญากรรมได้

Slum Community Development

In Bangkok’s massive Klong Toey slum area, poverty, drug abuse and crime are rampant. Conditions are often dangerous and unsanitary, with open sewers winding through residential areas and uncollected garbage strewn about the narrow lanes. Hunger is a constant threat. Hope is scarce.

Through its Development and Service Center Division, the SDSU is working to provide education, access to healthcare and sanctuary to people in the Klong Toey slum. We teach kindergarten to local children from broken homes and remedial students based on the Montessori curriculum. Subjects include math, reading, writing, physical fitness and health; we also teach English and basic computer skills. We provide tutoring help and home visits to children who need additional assistance. Our educational efforts also include artisanal / vocational training for unemployed adults and those who would like to supplement their income.

In addition, the Klong Toey Service Center provides sports programs for young people, including regular football games for children and weekend swimming activities. These sporting activities build self-esteem and teamwork, and give young people in Klong Toey a healthy alternative to the drug abuse and crime they see in their communities each day. The Service Center also provides exercise facilities for both adults and young people.

Staff at the Service Center also help senior citizens and physically handicapped members of the community get access to healthcare. Due to physical disabilities or a lack of transportation, some older and handicapped people in Klong Toey are unable to visit a doctor when they need medical care. We visit about ten members of the slum community per month and take them to visit doctors as needed.

Through the Klong Toey Service Center, the SDSU is working to improve the lives of many people suffering from poverty, sickness and crime.